การศึกษา การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นภารกิจหลักด้านหนึ่งที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
หรือ อว. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ และนำไปสู่การพัฒนาประเทศเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก อีกทั้งการวิจัยยังใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของการ
ประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันการศึกษา คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ในช่วงงานเกษตรและเทคโนโลยีพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2565 ครั้งที่ 26 ทั้งรูปแบบการนำเสนอแบบบรรยาย
โปสเตอร์และนวัตกรรม ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา คณาจารย์ และนักวิจัยให้มีเวทีแสดงผลงานทั้งจากโครงงาน ปัญหาพิเศษ งานวิจัย
งานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม และจากความสำเร็จของงานประชุมวิชาการระดับชาติดังกล่าวนี้ จึงทำให้คณะทรัพยากรธรรมชาติได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะกระตุ้นให้นักศึกษา
คณาจารย์ และนักวิจัยของทั้งวิทยาเขตสกลนคร และผู้สนใจ ได้ทำงานเพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมสู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
จึงได้เสนอให้จัดการดำเนินโครงการ ประชุมวิชาการระดับชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 4 (The 4th National Conference on
Natural Resources and Health Science: NACON-NARAHS) ขึ้น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคมต่อไป
นอกจากนี้ยังได้รับองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าตามการเปลี่ยนแปลงของโลก มีการแลกเปลี่ยนทั้งด้านความรู้และประสบการณ์
นำมาซึ่งการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยอย่างกว้างขวางมากขึ้น และยังเป็นการสร้างเครือข่ายในการจัดประชุมวิชาการเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลง
ของกระแสโลกในยุคเนกซ์นอร์มอล (Next normal)
1. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยหน้าใหม่ทั้งนักศึกษาและนักวิจัยของสถาบันการศึกษาในประเทศได้มีเวทีฝึกฝนการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมสู่สาธารณชน
3. เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
1. เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output) มีนักวิจัยส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติไม่น้อยกว่า 100 เรื่อง
2. เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์
ลักษณะของการนำเสนอ
1.) การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral presentation) นำเสนอผ่านโปรแกรม Zoom Meeting โดยผู้นำเสนอเตรียมอัด VDO
การนำเสนอผลงานความยาวไม่เกิน 10 นาที พร้อมอัพโหลดลง Youtube และส่ง Link กลับมาให้ผู้จัดงาน ภายในวันที่ 8 ก.พ. 2568
ทางเมล wittaya.le@rmuti.ac.th โดยระบุรหัสบทความพร้อมชื่อเรื่อง (ในวันที่ 14 ก.พ.68 ผู้นำเสนอจะต้องเตรียมตัวตอบคำถามกับ
ทางคณะกรรมการและผู้ร่วมฟัง ตามลำดับการนำเสนอผลงาน ซึ่งผู้จัดงานจะแจ้งลำดับการนำเสนอให้ทราบอีกครั้งทางหน้าเวปไซต์งานประชุมฯ)
2.) การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) โดยผู้นำเสนอเตรียมจัดทำโปสเตอร์ตาม template ที่กำหนดไว้ทางหน้าเวปไซต์ และอัด
VDO การนำเสนอผลงานความยาวไม่เกิน 5 นาที พร้อมอัพโหลดลง Youtube และส่ง Link พร้อมไฟล์โปสเตอร์ 80x100 ซม. (.pdf) กลับมาให้ผู้จัดงาน
ภายในวันที่ 8 ก.พ. 2568 ทางอีเมล wittaya.le@rmuti.ac.th โดยระบุรหัสบทความพร้อมชื่อเรื่อง
รูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) สามารถดาวน์โหลดได้โดย
กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
*โดยผลงานวิชาการข้างต้นจะต้อง
1. เป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ เกษตรศาสตร์ (สัตว์,พืช,ประมง,ส่งเสริมการเกษตร), วิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์พื้นบ้าน,
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, บริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์
“FNR | RMUTI”