ปริญญาโท:เทคโนโลยีการประมง

ชื่อสาขาประมง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  

1. ชื่อสาขา/ชื่อหลักสูตร

สาขาประมง/ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง

Fisheries/ Master of Science Program in Fisheries Technology

2. เกี่ยวกับสาขาวิชา

        จุดเด่นของสาขาวิชาประมง

  1. คณาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยทางการประมงอย่างเป็นระบบ
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการประมงเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรในแหล่งน้ำ
  3. มีความพร้อมของสถานที่เรียน โรงเพาะเลี้ยง บ่อเลี้ยง เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือชั้นสูงในการทำวิจัย

การเรียนการสอน

  1. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  2. การปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ
  3. โรคสัตว์น้ำ
  4. ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
  5. ผลิตภัณฑ์ประมง

3. ความสำคัญของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ปรัชญา

มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และความสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการแหล่งน้ำ โดย

เน้นการคิดและการปฏิบัติเชิงระบบสู่การวิจัยและพัฒนาทรัพยากรประมง ทั้งการผลิตสัตว์น้ำตามแนวทางอาหารปลอดภัย และทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่าอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาบริหารการจัดการแหล่งน้ำในท้องถิ่นและภูมิภาคในลุ่มแม่น้ำสงคราม ลุ่มแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

  1. ความสำคัญ

ประเทศไทยมีแผนพัฒนาประเทศ 4 มิติ (Thailand 4.0) ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่สังคมที่มีความ

มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในสังคม การรักษ์สิ่งแวดล้อม และการยกระดับศักยภาพและคุณค่าของมนุษย์ เพื่อให้

ประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางให้ก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้องค์ความรู้และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วยในการพัฒนาประเทศไปข้างหน้า อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการประมงและการจัดการทรัพยากร  ในแหล่งน้ำ เป็นการยกระดับศักยภาพและคุณค่าของมนุษย์ เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขของคนในสังคม เสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ และของโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการประมง

  1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาทรัพยากรประมง โดยยกระดับความสามารถของ

บุคคลในการพัฒนาองค์กร

  • เพื่อใช้องค์ความรู้จากการวิจัยพัฒนาท้องถิ่นและภูมิภาค
  • เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยใช้งานวิจัยที่มีคุณภาพ

4. โครงสร้างหลักสูตร

       หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี (แผน ก1 และ แผน ก2) 

        จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร    ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนหน่วยกิต (Credits)
แผน ก (Plan A) แผน ข (Plan B)
แบบ ก 1 (Model A 1) แบบ ก 2 (Model A 2)
1. หมวดวิชาบังคับ    Core Courses 2* 5
2. หมวดวิชาเลือก    Electives Courses ไม่น้อยกว่า 21
3. วิทยานิพนธ์     Thesis 38 12

               * ไม่นับหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

รายวิชา

ชื่อรายวิชา

1. หมวดวิชาบังคับ (Core Courses)                                จำนวน          5       หน่วยกิต

51-608-180-101      ระเบียบวิธีวิจัยทางการประมง                                3(3-0-6)

                Research Methodology in Fisheries

51-608-180-102      สัมมนาทางการประมง 1*                                           1(0-3-1)                       Seminar in Fisheries 1

51-608-180-103     สัมมนาทางการประมง 2*                                          1(0-3-1)                       Seminar in Fisheries 2

* ไม่นับหน่วยกิตสำหรับแผน ก แบบ ก 1

2. หมวดวิชาเลือก (Elective Courses)                             ไม่น้อยกว่า       21      หน่วยกิต

นักศึกษาต้องเลือกเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเลือกให้ได้หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต โดยเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งให้ได้หน่วยกิตไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และ/หรือ เลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาอื่น หรือกลุ่มวิชาเดิม ให้ได้หน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยเลือกจากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้

        2.1 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

51-608-181-001      เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขั้นสูง                                  3(3-0-6)

                Advanced Aquaculture Technology

51-608-181-002      โภชนศาสตร์สัตว์น้ำขั้นสูง                                           3(2-3-5)

                Advanced Aquatic Animal Nutrition

51-608-181-003     เทคโนโลยีการจัดการดินและน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ                   3(2-3-5)                                      Technology for Soil and Water Management in Aquaculture     

51-608-181-004     เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน                   3(3-0-6)

                Technology for Sustainable Management of Aquaculture Farming

51-608-181-005   เทคโนโลยีชีวภาพและการประยุกต์ใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ                 3(3-0-6)

                Biotechnology and Its Applications for Aquaculture

51-608-181-006     นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ                           3(3-0-6)

                Innovation in Aquaculture Technology

51-608-181-007     ภูมิคุ้มกันวิทยาและการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ                            3(2-3-5)

                Immunology and Health Management of Aquatic Animals

51-608-181-008      พยาธิวิทยาและการจัดการโรคสัตว์น้ำ                                  3(2-3-5)

                Pathology and Management of Aquatic Animal Diseases

51-608-181-009     ปัญหาพิเศษทางการประมง                                          3(0-9-3)

                Special Problem in Fisheries

        2.2 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ

51-608-182-001      พันธุศาสตร์สัตว์น้ำขั้นสูง                                            3(3-0-6)

                Advanced Genetic of Aquatic Animals

51-608-182-002     พันธุศาสตร์ประชากรสัตว์น้ำ                                         3(3-0-6)

Population Genetic of Aquatic animals

51-608-182-003     ความหลากหลายพันธุกรรมสัตว์น้ำ                                    3(3-0-6)

                Genetic Diversity of Aquatic Animals              

51-608-182-004     เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ                                    3(3-0-6)

                Technology for Genetic Improvement of Aquatic Animals

51-608-182-005     การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน             3(3-0-6)

                Genetic Application for Sustainable Aquaculture

51-608-182-006     เทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอทางการประมง                            3(2-3-5)

                Technology for DNA Marker in Fisheries

51-608-182-007     นวัตกรรมทางการบริหารจัดการพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ                        3(3-0-6)

                Innovation in Genetic Broodstocks Management

        2.3 กลุ่มวิชาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

51-608-183-001     นิเวศอุทกวิทยาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ                      3(3-0-6)

                Ecohydrology and Climate Change

51-608-183-002     นิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำ                                              3(3-0-6)

                Wetland Ecology

51-608-183-003     ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ                                       3(3-0-6)

                Aquatic Biodiversity

51-608-183-004     สภาวะบ่งชี้ทางชีวภาพในแหล่งน้ำ                                    3(3-0-6)

                Aquatic Bioindicator

51-608-183-005     ดินตะกอนในแหล่งน้ำ                                              3(2-3-5)

                Aquatic Sediment

51-608-183-006     การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ                             3(3-0-6)

                Water Resources and Environmental Management

51-608-183-007     การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางน้ำ                               3(3-0-6)

                Water Environmental Impact Assessment

51-608-183-008     การประเมินและการตรวจติดตามมลพิษทางน้ำ                          3(3-0-6)

                Assessing and Monitoring Water Pollution

        2.4 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประมง

51-608-184-001     เทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงทางผลิตภัณฑ์ประมง                       3(2-3-5)                                      Advanced Analytical Technology in Fishery Product

51-608-184-002     นวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ประมง                                      3(3-0-6)

                Innovation in Fishery Product

51-608-184-003     เทคโนโลยีการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์สัตว์น้ำ                             3(2-3-5)

                Fishery Processing and Packaging Technologies

51-608-184-004    เทคโนโลยีชีวภาพและการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ประมง                  3(3-0-6)

                Biotechnology and Its Application for Fishery Product

51-608-184-005     นวัตกรรมทางเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการประมง          3(3-0-6)

                Innovation in Fisheries Postharvest Technology

51-608-184-006     คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ประมง                                3(3-0-6)

                Fishery Product Quality and Standards

51-608-184-007    การวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ประมง                                 3(2-3-5)

                Analysis of Fishery Product Quality

3. วิทยานิพนธ์

51-608-185-001     วิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก1)                                   38(0-114-38)

                Thesis (Plan A Model A1)

51-608-185-002     วิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก2)                                     12(0-36-12)                                              Thesis (Plan A Model A2)

5. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ประจำหลักสูตร

ตำแหน่งวิชาการ ชื่อ-สกุล คุณวุฒิ สาขาวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสมศักดิ์  ระยัน** ปร.ด. วท.ม. วท.บ. เกษตรศาสตร์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นางสาวสุกัญญา  คำหล้า** ปร.ด. วท.ม. วท.บ. ชีวเคมี การประมง ประมง
อาจารย์ นางสาวณัทธิยา  ชำนาญค้า** ปร.ด. วท.ม. วท.บ. วิทยาศาสตร์ทางทะเล วิทยาศาสตร์การประมง ประมง
รองศาสตราจารย์ นายโฆษิต ศรีภูธร ปร.ด. วท.ม. วท.บ. ชีววิทยา วิทยาศาสตร์การประมง ประมง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นางนิศาชล ฤาแก้วมา วท.ด. วท.ม. วท.บ. เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ ประมง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายชลันธร วิชาศิลป์ Ph.D. วท.ม. วท.บ. Bioscience and Biotechnology for Future industry ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ประมง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นางสาวนัยนา เสนาศรี ปร.ด. วท.ม. วท.บ. การประมง การจัดการสิ่งแวดล้อม ประมง
อาจารย์ นางสาวพัชราวลัย ศรียะศักดิ์ ปร.ด. วท.ม. วท.บ. เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เทคโนโลยีการประมง ประมง
อาจารย์ นางสาวสุพันธ์ณี สุวรรณภักดี ปร.ด. วท.ม. วท.บ. เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ วิทยาศาสตร์การประมง เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ

** อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

6. แนวทางการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

1. อาจารย์ นักวิชาการประมง นักวิชาการเกษตร นักวิจัย ฯลฯ

2. ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการประมง

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

        2. เงื่อนไขในด้านคุณวุฒิของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา มีดังนี้

                2.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาประมงหรือเทียบเท่า เช่น วาริชศาสตร์ ชีววิทยาประมง วิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นต้น จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง การตรวจสอบคุณวุฒิฯ ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา

2.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น หรือผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา ซึ่งเมื่อผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้แล้วอาจต้องศึกษารายวิชาเพิ่มเติมตามคำแนะนำ และตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา

2.3 แผน ก แบบ ก1 (Non-course work) จะต้องเป็นผู้มีผลการเรียนในระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ย

สะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 ในระบบคะแนนเต็ม 4.00 และเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่จะศึกษาไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยสามารถแสดงศักยภาพทางวิชาการที่พร้อมต่อการวิจัย หรือมีผลงานตีพิมพ์ ตามเงื่อนไขของ  คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา กรณีที่ผู้สมัครเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัทเอกชน ต้องสำเร็จปริญญาตรีตามคุณสมบัติข้อ 2.2.2.1 หรือ 2.2.2.2 และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านประมงมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าสังกัดระดับกรม องค์กรรัฐวิสาหกิจ และกรรมการผู้จัดการบริษัทที่สังกัด               

                2.4 แผน ก แบบ ก2 (Course work) จะต้องเป็นผู้มีผลการเรียนระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 ในระบบคะแนนเต็ม 4.00 ในกรณีที่ผลการศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 จะต้องมีประสบการณ์การทํางานในวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 1 ปี กรณีที่ผู้สมัครเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัทเอกชน ต้องสำเร็จปริญญาตรีตามคุณสมบัติข้อ 2.2.2.1 หรือ 2.2.2.2 และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านประมงมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าสังกัดระดับกรม องค์กรรัฐวิสาหกิจ และกรรมการผู้จัดการบริษัทที่สังกัด

8. ผลงานของสาขาวิชา

      – การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า

– การเพาะพันธุ์ปลาหมอไทยแปลงเพศราชมงคล

– การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของอ่างเก็บน้ำห้วยหวด

– ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายขนาดใหญ่และพรรณไม้น้ำในหนองหาร

          ฯลฯ

9. ศิษย์เก่าสาขาวิชา

       ผศ.ดร.นัยนา  เสนาศรี และ ผศ.ดร.สุกัญญา  คำหล้า อาจารย์ประจำสาขาวิชาประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

10. ติดต่อสาขา

      ที่อยู่: สาขาวิชาประมง ประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เลขที่ 205 หมู่ 10 ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร

        Facebook: Fisheries Rmuti Skc

        Email: fisheries.natres@gmail.com

        เบอร์โทรศัพท์: 098-572-7900