สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. ชื่อสาขา/ชื่อหลักสูตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์/ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
Animal Production Technology / Master of Science Program in Animal Production Technology
2. เกี่ยวกับสาขาวิชา
จุดเด่นของสาขาวิชาสัตวศาสตร์
- อาจารย์ประจำสาขาฯ จบทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์สูงในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย
- ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ และปฏิบัติงานได้จริง
- มีฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนโรงผสมอาหารสัตว์ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติได้จริง
การเรียนการสอน
- ด้านการผลิตโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีก
- ด้านอาหารสัตว์ และการให้อาหารสัตว์
- ด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
- ด้านระบบสืบพันธุ์สัตว์
- ด้านโรค และการสุขาภิบาลโรคสัตว์
3. ความสำคัญของหลักสูตร
1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุปhระสงค์ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
ผลิตมหาบัณฑิตนักวิชาการ นักวิชาชีพ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ที่มีความเชี่ยวชาญ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สามารถวิเคราะห์และวางแผนการวิจัยโดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ใหม่และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและของประเทศ
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.2.1 สามารถปฏิบัติการทดลองและวิจัย และแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างอิสระและสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ที่เหมาะสมกับสภาพการผลิตของภูมิภาคและของประเทศไทย
1.2.2 สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิชาการด้านเทคโนโลยีการผลิตสัตว์เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้
1.2.3 สามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการผลิตสัตว์ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
1.2.4 มีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ความรู้ด้านการผลิตสัตว์เพื่อพัฒนาวิชาชีพและแก้ไขปัญหาของ
4. โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก (2) | แผน ข | |
หมวดวิชาบังคับ | 8 | 8 |
หมวดวิชาเลือก | 18 | 24 |
วิทยานิพนธ์ | 12 | – |
การศึกษาค้นคว้าอิสระ | – | 6 |
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 38 | 38 |
รายวิชา
1 หมวดวิชาบังคับ (Compulsory Courses)
ให้ศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้ 6 รายวิชา 8 หน่วยกิต
03-120-701 วิธีวิจัยทางสัตวศาสตร์ 3(2-3-5)
Research Methods in Animal Science
03-120-702 การทัศนศึกษาเยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์ 3(0-9-3)
Field Studies
03-120-703 สัมมนาสัตวศาสตร์ 1 1(0-3-1)
Animal Science Seminar 1
03-120-704 สัมมนาสัตวศาสตร์ 2 1(0-3-1)
Animal Science Seminar 2
03-120-705* ชีวเคมีทางสัตวศาสตร์ 3(3-0-6)
Biochemistry for Animal Science
03-120-706* ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(3-0-6)
English for Graduate Studies
*เป็นวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต (ได้ระดับคะแนน S)
2 หมวดวิชาเลือก (Elective Courses)
ให้นักศึกษาเลือกศึกษาวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มวิชาเลือก สำหรับ แผน ก แบบ ก (2) เลือกศึกษาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต แผน ข เลือกศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานการผลิตสัตว์ (Foundation of Animal Production)
03-121-701 เทคนิคการวิจัยทางสัตวศาสตร์ 3(2-3-5)
Research Techniques in Animal Science
03-121-702 สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
Experimental Animal for Scientific Purposes
03-121-703 ปัญหาพิเศษ 3(1-0-2)
Special Problem
03-121-704 เรื่องคัดสรรทางสัตวศาสตร์ 1(0-3-1)
Selected Topics in Animal Science
03-121-705 คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางการเกษตร 3(2-3-5)
Computer for Agricultural Research
03-121-706 วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ขั้นสูง 3(3-0-6)
Advanced Meat Science
03-121-707 ชีวโมเลกุลทางสัตว์ 3(2-3-5)
Animal Molecular Biology
กลุ่มวิชาโภชนศาสตร์สัตว์ (Animal Nutrition)
03-122-701 โภชนศาสตร์สัตว์ไม่เคี้ยวเอื้องขั้นสูง 3(2-3-5)
Advanced Non-ruminant Nutrition
03-122-702 โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้องขั้นสูง 3(2-3-5)
Advanced Ruminant Nutrition
03-122-703 การประเมินคุณค่าของอาหารสัตว์ 3(2-3-5)
Feed Evaluation
03-122-704 โภชนศาสตร์วิตามิน 3(3-0-6)
Vitamin Nutrition Science
03-122-705 โภชนศาสตร์แร่ธาตุ 3(3-0-6)
Mineral Nutrition Science
03-122-706 สารพิษในอาหารสัตว์ 3(2-3-5)
Toxic Substances in Animal Nutrition
03-122-707 พืชอาหารสัตว์ขั้นสูง 3(2-3-5)
Advanced Forage Crops
03-122-708 นิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก 3(3-0-6)
Microbial Ecology of Rumen
กลุ่มวิชาสรีระการสืบพันธุ์สัตว์และสุขภาพสัตว์ (Physiology of Animal Reproduction and Health)
03-123-701 การสืบพันธุ์สัตว์ขั้นสูง 3(2-3-5)
Advanced Animal Reproduction
03-123-702 การปรับปรุงความสมบูรณ์พันธุ์ปศุสัตว์ในเขตร้อน 3(2-3-5)
Livestock Fertility Improvement in The Tropics
03-123-703 เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ของสัตว์ 3(2-3-5)
Biotechnology in Animal Reproduction
03-123-704 การย้ายฝากตัวอ่อนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 3(2-3-5)
Embryo Transfer and Related Technology
03-123-705 สรีรวิทยาการสร้างนม 3(2-3-5)
Physiology of Lactation
03-123-706 สูติศาสตร์ทางสัตวแพทย์ 3(2-3-5)
Veterinary Obstetrics
03-123-707 สรีรวิทยาทางเดินอาหารในสัตว์ 3(3-0-6)
Digestive Physiology of Animal
03-123-708 วิทยาการสัตวแพทย์ทั่วไป 3(3-0-6)
General Veterinary Medicine
03-123-709 วิทยาการต่อมไร้ท่อ 3(3-0-6)
Endocrinology
กลุ่มวิชาพันธุศาสตร์และการผสมพันธุ์สัตว์ (Population Genetics and Animal Breeding)
03-124-701 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ขั้นสูง 3(3-0-6)
Advanced Animal Breeding
03-124-702 พันธุศาสตร์ประชากร 3(3-0-6)
Population Genetics
กลุ่มวิชาการผลิตสัตว์ (Animal Production)
03-125-701 เทคโนโลยีการจัดการของเสียจากฟาร์ม 3(2-3-5)
Animal Waste Management Technology
03-125-702 การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ 3(3-0-66) Commercial Livestock Production
03-125-703 การจัดการสัตว์ป่า 3(2-3-5)
Wild Animal Management
3. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ (Thesis and Independent Study)
แผน ก แบบ ก (2) ให้ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แผน ข ให้ลงทะเบียนศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
03-126-701 วิทยานิพนธ์ 12(0-36-12)
Thesis
03-126-702 การศึกษาค้นคว้าอิสระ 6(0-18-6)
Independent Study
5. อาจารย์ประจำหลักสูตร
ตำแหน่งวิชาการ | ชื่อ-สกุล | คุณวุฒิ | สาขาวิชา |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | นายชำนาญวิทย์ พรมโคตร** | ปร.ด. M.Sc. สพ.บ. | สัตวศาสตร์ Animal Science สัตวแพทยศาสตร์ |
อาจารย์ | นางสาวสินีนาฎ พลโยราช** | ปร.ด. วท.ม. วท.บ. | สัตวศาสตร์ สัตวศาสตร์ สัตวศาสตร์ |
อาจารย์ | นางสาวพิลาสลักษณ์ ปานประเสริฐ** | Ph.D วท.ม. วท.บ. | Animal Science สัตวศาสตร์ เกษตรศาสตร์ |
อาจารย์ | นายพงศธร กุนัน | ปร.ด. วท.ม วท.บ. | สัตวศาสตร์ สัตวศาสตร์ สัตวศาสตร์ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | นายชเวง สารคล่อง | วท.ม. สพ.บ. | วิทยาการสืบพันธุ์ สัตวแพทยศาสตร์ |
หมายเหตุ: ** อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
6. แนวทางการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
1) นักวิชาการตามสถานประกอบการ ด้านเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
2) นักวิทยาศาสตร์ ตามห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐ และเอกชน
3) นักวิชาการสถาบันวิจัยทางสัตวศาสตร์
4) ประกอบอาชีพราชการ หรืองานอิสระด้านการปศุสัตว์
5) สามารถศึกษาต่อในระดับเอก ในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิสมัครเข้าเป็นนักศึกษาแผน ก แบบ ก (2) และแผน ข ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สัตวบาล เทคโนโลยีการผลิตสัตว์
สัตวแพทยศาสตร์ เทคนิคการสัตวแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
2) มีคุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549
8. ผลงานของสาขาวิชา
9. ศิษย์เก่าสาขาวิชา
10. ติดต่อสาขา
สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร Tel: 042-991460 หรือ Facebook: สาขาวิขาสัตวศาสตร์ คณะทรัพฯ ม.ราชมงคลอีสาน สกลนคร